เมนู

บริกรรมแห่งทิพยจักษุ ฯลฯ บริกรรมแห่งอนาคตังสญาณ เป็นปัจจัย
แก่อนาคตังสญาณ ด้วยอำนาจของเสวนปัจจัย.
[1492] 2. ปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณธรรม ด้วย
อำนาจของอาเสวนปัจจัย

คือ โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค.
โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.
[1493] 3. มหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตธรรม ด้วย
อำนาจของอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตธรรมที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตธรรมที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.

13. กัมมปัจจัย


[1494] 1. ปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง ที่เป็นคือ สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏ-
ฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นปริตตธรรมซึ่งเป็น
วิบาก และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
[1495] 2. มหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตธรรม ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นมหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นมหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นมหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคต-
ธรรม ซึ่งเป็นวิบาก ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย
[1496] 3. มหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย


มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นมหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นมหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นมหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย.
[1497] 4. มหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม และ
มหัคคตธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นมหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นมหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ที่เป็น นานาขณกะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นมหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นมหัคคตธรรม ซึ่ง
เป็นวิบาก และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

[1498] 5. อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณธรรม
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นอัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย.
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นอัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปมาณ-
ธรรม ซึ่งเป็นวิบาก ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
[1499] 6. อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นอัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
[1500] 7. อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม และ
อัปปมาณธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นอัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

14. วิปากปัจจัย


[1501] 1. ปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม ด้วย
อำนาจของวิปากปัจจัย

คือ ขันธ์ 1 ที่เป็นปริตธรรม ซึ่งเป็นวิบาก เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ 3
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย ฯลฯ
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจ
ของวิปากปัจจัย.
[1502] 2. มหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตธรรม ด้วย
อำนาจของวิปากปัจจัย
มี 3 วาระ (วาระที่ 2-3-4) พึงกระ ทั้งปวัตติ
และปฏิสนธิ.
[1502] 5. อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณธรรม
ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย
มี 3 วาระ (วาระที่ 5-6-7) พึงกระทำ
ปวัตติ อย่างเดียว.

15. อาหารปัจจัย ฯลฯ 19. สัมปยุตตปัจจัย


[1504] 1. ปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม ด้วย
อำนาจของอาหารปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย, เป็น
ปัจจัย ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของมัคค-
ปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย (แต่ละปัจจัย มี 7
วาระ)